เมนู

ชั่วไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉัน
มีอยู่ 4 แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอก
ใคร ๆ ขอมารดาของดิฉันจงถือเอาทรัพย์จากที่
ซ่อนนั้นมาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้
ทานแล้วขอจงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น
ดิฉันจักมีความสุขสำเร็จความประสงค์ทั้งปวง
ก็มารดาของนางเปรตเสรินีนั้น ถือเอาทรัพย์ที่
นางเปรตเสรินีซ่อนไว้นั้นมาให้ทาน ครั้นแล้ว
อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรตเสรินี นางเปรตเสรินี
เป็นผู้มีความสุขแม้มารดาของนางก็เป็นอยู่สบาย.

จบ เสรินีเปติวัตถุที่ 6

อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ 6



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเสรินีเปรต จึงได้ตรัสพระคาถามีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทฺพฺพณฺณรูปาสิ
ดังนี้.
ได้ยินว่าในหัตถินีบุรี ในแคว้นกุรุรัฐ มีหญิงคนหนึ่งชื่อว่า
เสรินี ได้เป็นผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีวิต. ก็ภิกษุทั้งหลายจากที่นั้น ๆ
ได้มาประชุมกันในหัตถินีบุรีนั้น เพื่อต้องการทำอุโบสถ. ได้มี
ภิกษุจำนวนมากมาประชุมกันอีก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นดังนั้น
จึงจัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในการบำเพ็ญทานเป็นอันมาก มีเมล็ดงา

และข้าวสารเป็นต้น และมีเนยใส เนยข้น และน้ำผึ้งเป็นต้น บำเพ็ญ
มหาทาน. ก็สมัยนั้น นางคณิกาคนนั้นไม่มีศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส
จิตถูกกลุ้มรุมด้วยมลทินคือความตระหนี่ แม้จะถูกพวกมนุษย์
เหล่านั้นให้กำลังใจว่า มาซิเธอ ก่อนอื่นจงอนุโมทนาทานนี้ ก็
ประกาศยืนยันความไม่เลื่อมใสแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า จะประโยชน์
อะไรด้วยทานที่ให้แก่พวกสมณะโล้น การบริจาคสิ่งของมีประมาณ
เล็กน้อย จักมีแต่ไหน.
สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต ที่หลังคู แห่ง
ปัจจันตนครแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น อุบาสกชาวเมืองหัตถินีบุรีคนหนึ่ง
ไปยังนครนั้นเพื่อการค้า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังหลังคู
ด้วยประโยชน์เช่นนั้น. นางเห็นเขาที่นั้น ก็จำได้เป็นคนเปลือย
มีร่างกายเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัวยิ่งนัก
ได้ยินแสดงตนอยู่ในที่ไม่ไกล. อุบาสกนั้น เห็นนางนั้นกลัว ถาม
เป็นคาถาว่า :-
ท่านเปลือยกาย มีรูปพรรณน่าเกลียด ซูบ
ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม
จนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหนอ มายืนอยู่ที่นี้.

ฝ่ายนางเปรต จึงประกาศตนแก่อุบาสกนั้นด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์
ได้ยาก เกิดในยมโลก ทำกรรมอันลามกไว้ จึง
จากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

นางถูกอุบาสกนั้น ถามถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยคาถาอีกว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ หรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึง
จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก

จึงบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ และประโยชน์ที่เขาพึงกระทำ
ให้แก่ตนอีก ด้วยคาถา 6 คาถานี้ว่า :-
ดิฉัน ได้ค้นทาทรัพย์มาได้กึ่งมาสก ในที่
ที่ไม่มีใครหวงห้าม เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉันไม่
ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนไว้ ดิฉันกระหายน้ำ เข้าไป
ยังแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน
ดิฉันเข้าไปยังร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป
ทั้งลมก็กลับกลายเป็นเปลวไฟไป เผาร่างของ
ดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวย
ทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่ท่านกล่าว
แล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น
ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วยบอกแก่มารดา
ดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เขาจากโลกนี้ไปยังเปตโลก เพราะทำ
บาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ 400,000
ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้

นั้นเถิด ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน
แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้น
ดิฉันก็จะมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า
ในถิ่นที่เป็นท่าของแม่น้ำ และสระน้ำเป็นต้น ที่ใคร ๆ ไม่หวงห้าม
คือ ในที่ที่พวกมนุษย์อาบและทำกิจด้วยน้ำเช่นนั้น. บทว่า วิจินึ
อฑฺฒมาสกํ
ความว่า ดิฉันถูกความโลภครอบงำ ค้นหา คือแสวงหา
ได้ทรัพย์เพียงกึ่งมาสก ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้อะไร
สักอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ที่พวกมนุษย์วางลืมไว้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า เมื่อสมณพราหมณ์ อันเป็นที่พึ่ง
ของสัตว์ทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์อันเนื่องด้วย
ความพยายามของปวงสัตว์ ซึ่งไม่มีใครหวงห้าม โดยการเข้าไปหา
มีอยู่. บทว่า วิจินึ อฑฺฒมาสกํ ความว่า ดิฉันมีจิตถูกมลทินคือ
ความตระหนี่กลุ้มรุม จึงไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ จึงเก็บทรัพย์
ไว้เป็นพิเศษกึ่งมาสก จึงไม่สั่งสมบุญไว้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉัน จึงไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า ตสิตา ได้แก่ ผู้กระหายแล้ว. บทว่า ริตฺตกา
ความว่า แม่น้ำที่กาพอจะพึงดื่มได้ ไหลไปอยู่ ก็กลับกลายเป็น
แม่น้ำว่างเปล่าจากน้ำ มีเพียงทราย เพราะกรรมชั่วของดิฉัน.

บทว่า อุณฺเหสุ ได้แก่ ในฤดูร้อน. บทว่า อาตโป ปริวตฺตติ
ความว่า ที่ที่มีร่มเงา เมื่อดิฉันเข้าไป ก็กลับกลายเป็นแดดไป.
บทว่า อคฺคิวณฺโณ ได้แก่ มีสัมผัสเช่นกับไฟ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แผดเผาฟุ้งตลบไป ดังนี้เป็นต้น. นางเปรต
เรียกอุบาสกนั้น ด้วยความเคารพว่า ภนฺเต ในบทว่า เอตญฺจ ภนฺเต
อรหามิ นี้ อธิบายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉัน สมควรเสวยทุกข์
อันเกิดแต่ความกระหาย เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่น
อันลามก ทารุณ กว่านั้น เพราะดิฉันได้กระทำกรรมชั่ว อันเกิด
แต่การกระทำนั้น. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว.
บทว่า เอตฺถ นิกฺขิตฺตํ อนกฺขาตํ ความว่า ดิฉันไม่ได้บอกว่า
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ เก็บไว้ในที่นี้. บัดนี้ นางเปรตเมื่อจะแสดง
ปริมาณของทรัพย์นั้น จึงกล่าวว่า ทรัพย์ 400,000 ดิฉันได้เก็บ
ซ่อนไว้ภายใต้เตียง ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปลฺลงฺกสฺส ได้แก่บัลลังก์อันเป็นที่นอนของตนในกาลก่อน. บทว่า
ตโต ความว่า ขอมารดา จึงถือเอาทรัพย์ส่วนหนึ่ง จากทรัพย์ที่
ดิฉันฝังไว้ แล้วจงให้ทานอุทิศถึงดิฉัน. บทว่า ตสฺสา ได้แก่
มารดาของดิฉัน.
เมื่อนางเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้ อุบาสกนั้นรับคำของนางนั้น
แล้ว พิจารณากรณียกิจของตนในที่นั้น จึงไปยังหัตถินีนคร แจ้ง
เรื่องนั้นแก่มารดาของนาง. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า :-

อุบาสกนั้น รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว
กลับไปสู่หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า
ข้าพเจ้าเห็นธิดาของท่าน เขาตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เพราะได้กระทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ ไปสู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่าน
ไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอกแก่มารดาของดิฉัน
ด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิด
อยู่ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ 400,000
ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้
นั้น มาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว
จงอุทิศส่วนบุญไปได้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉัน จัก
มีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดา
ของนางเปรตนั้น ถือเอาทรัพย์ที่นางเปรตซ่อนไว้
นั้น มาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญไปให้
นางเปรต นางเปรตเป็นผู้มีความสุข แม้มารดา
ของนาง ก็เป็นอยู่สบาย.

คาถาเหล่านั้น รู้ได้ง่ายทีเดียว.
มารดาของนางได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์
อุทิศไปให้นาง. เพราะเหตุนั้น นางตั้งอยู่ในความสมบูรณ์ ด้วย

เครื่องอุปกรณ์ที่ได้มา แสดงตนแก่มารดา บอกเหตุนั้นให้ทราบ
มารดาแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.
เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ 6

7. มิคลุททเปตวัตถุที่ 1



ว่าด้วยนายพรานเนื้อใจหยาบตายไปเป็นเปรต



พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
[119] ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วย
เทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ อัน
ให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ใน
กลางวัน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน.

เปรตนั้นตอบว่า
เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่
กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ
(ปัญจคีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนโลหิต เป็น
คนหยาบช้าทารุณมีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอัน
มากผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคืองให้ ยินดีแต่
ในการเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วย
กาย วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็น
สหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา ก็อุบาสก
คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่
เนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไป
ทุคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า